สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 มกราคม 2566

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ 
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,329 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,383 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,711 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,680 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,370 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.79
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.5011 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย: เปิดรายชื่อ 10 บริษัท ได้รับจัดสรรส่งออกข้าวขาวไปสหราชอาณาจักร ปี 2566
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องผลการจัดสรรปริมาณข้าวขาวและการออกหนังสือรับรองการส่งออกไปสหราชอาณาจักร สำหรับปี 2566 ปริมาณ 3,727 ตัน รวม 10 บริษัท
วันที่ 26 มกราคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง ผลการจัดสรรปริมาณข้าวขาวและการออกหนังสือรับรองการส่งออกไปสหราชอาณาจักร สำหรับปี 2566 พ.ศ. 2565 ลงนามโดย
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ตามที่ได้มีระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการจัดสรรปริมาณข้าวและการออกหนังสือรับรองการส่งออกข้าวภายใต้โควตาภาษีไปสหราชอาณาจักร สำหรับปี 2566 พ.ศ. 2565 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดสรรปริมาณข้าวและการออกหนังสือรับรองการส่งออกไปสหราชอาณาจักรไว้แล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 และข้อ 7 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ของระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการจัดสรรปริมาณข้าวและการออกหนังสือรับรองการส่งออกข้าวภายใต้โควตาภาษีไปสหราชอาณาจักรสำหรับปี 2566
พ.ศ. 2565 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ผลการจัดสรรปริมาณข้าวขาวที่จะออกหนังสือรับรองการส่งออก(Export Certificate : EC) สำหรับปี 2566 ปริมาณ 3,727 ตัน จัดสรรให้แก่ผู้ส่งออกที่มีประวัติการส่งออกในช่วง 3 ปีย้อนหลัง มีผู้ส่งออกที่ได้รับส่วนจัดสรรปริมาณข้าวขาวเพื่อขอหนังสือรับรองการส่งออก (ExportCertificate : EC) จำนวน 10 ราย โดยบริษัท เอลล์บา บางกอก ได้รับจัดสรรมากที่สุด จำนวน 2,251 ตัน ขณะที่บริษัท พงษ์ลาภ จำกัด ได้รับจัดสรรน้อยที่สุด 3 ตัน
ข้อ 2. ให้ผู้ส่งออกที่ได้รับส่วนจัดสรรปริมาณข้าวขาวตามข้อ 1. แจ้งยืนยันขอรับหรือแจ้งยืนยันไม่ขอรับส่วนจัดสรรตามปริมาณที่ได้รับการจัดสรรทั้งหมดต่อกองบริหารการค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศ ตามแบบ สร.1 ท้ายประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การแจ้งยืนยันขอรับส่วนจัดสรร การคืนส่วนจัดสรร การขอหนังสือรับรองการส่งออก
การยกเลิกหนังสือรับรองการส่งออก การคืนค่าธรรมเนียมพิเศษ และการรายงานการส่งออกข้าวไปสหราชอาณาจักร สำหรับปี 2566 พ.ศ. 2565 ภายในกำหนด 3 วันทำการ นับถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากแจ้งยืนยันไม่ขอรับส่วนจัดสรร หรือไม่แจ้งยืนยันขอรับส่วนจัดสรรภายในกำหนดดังกล่าว ถือว่าผู้ส่งออกสละสิทธิส่วนจัดสรร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อินโดนีเซีย: อินโดนีเซียรับจดทะเบียน GI ข้าวไทย 2 รายการ เร่งดันส่งออก
กรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยประเทศอินโดนีเซียรับจดทะเบียน GI ข้าวไทยเพิ่มอีก 2 รายการ ตอกย้ำคุณภาพข้าวไทย ตั้งเป้าสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมขยายตลาดส่งออกในอินโดนีเซีย
วันที่ 19 มกราคม 2566 นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ล่าสุดกระทรวงกฎหมายและสิทธิมนุษยชน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประกาศรับจดทะเบียน GI ข้าวไทยเพิ่มอีก 2 รายการ ได้แก่
“ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” และ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ต่อจากสินค้า “ผ้าไหมยกดอกลำพูน” ที่ได้รับจด GI
ในอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ. 2559 ช่วยขยายตลาดการส่งออกของไทยสร้างรายได้ให้เกษตรกรท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมเดินหน้าผลักดันการจดทะเบียนสินค้า GI ซึ่งเป็น Soft Power ของไทยที่มีศักยภาพให้ได้รับความคุ้มครองในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้า GI เกษตรและอาหาร เช่น ส้มโอทับทิมสยามปากพนังในจีน กาแฟดอยช้างและกาแฟดอยตุงในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการจดทะเบียนสินค้า GI ในต่างประเทศ เป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลมุ่งมั่นดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาสให้สินค้า GI ไทยได้รับความคุ้มครองในตลาดส่งออกสำคัญ พร้อมผลักดันมูลค่าการตลาดให้สูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาสินค้า GI ไทยได้รับการจดทะเบียนในต่างประเทศ รวม 8 รายการ ครอบคลุมกว่า
30 ประเทศ ทั้งสหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง กาแฟดอยช้าง กาแฟดอยตุง เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน ผ้าไหมยกดอกลำพูน มะขามหวานเพชรบูรณ์ และลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน
ด้านนายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง มีลักษณะเด่นคือ เมล็ดข้าวเรียวเล็ก อ่อนนุ่ม และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ข้าวกล้องมีสีแดงจนถึงแดงเข้ม ข้าวสารมีสีขาวปนแดงหรือสีชมพู
ในแต่ละปีมีปริมาณการผลิตมากกว่า 8,000 ตัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรในท้องถิ่นกว่า 104 ล้านบาท ส่วนข้าวหอมมะลิ
ทุ่งกุลาร้องไห้ มีลักษณะเด่น คือ เมล็ดข้าวยาวเรียวและไม่มีหางข้าว เมื่อหุงสุกจะมีกลิ่นหอมและนุ่ม ปลูกในพื้นที่ 5 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และยโสธร ในแต่ละปีมีปริมาณการผลิตกว่า 24,500 ตัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรในท้องถิ่นกว่า 266 ล้านบาท ซึ่งอินโดนีเซียนับเป็นอีกหนึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญ
ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าว GI ไทย ทั้ง 2 รายการ และสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 417.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,545.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 413.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,516.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 29.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 677.00 เซนต์ (8,771.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 680.00 เซนต์ (8,874.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 103.00 บาท

 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 33.358 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่
เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.90 ร้อยละ 2.08 และร้อยละ 0.20 ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิต
ออกสู่ตลาด 6.15 ล้านตัน (ร้อยละ 18.43 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.86 ล้านตัน (รอยละ 59.54 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.12
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.42 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.40
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.32 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.35 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 273 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,930 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 271 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,850 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 0.74
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 496 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,130 บาทต่อตัน)  ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,030 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 1.22


 


ปาล์มน้ำมัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - แหล่งข่าวรายงานว่า ตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำตาลทรายดิบพุ่งขึ้นในวันที่ 25 มกราคม หลังจากมีข่าว Petrobras ขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน นอกจากนี้ยังรายงานเพิ่มเติม เรื่องของความกังวลในส่วนของปริมาณอ้อยในอินเดีย กล่าวคือการที่ประเทศอินเดียจะไม่ส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้น
           - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความร่วมมือของสหภาพ ประเทศอินเดีย แจ้งกับเจ้าหน้าที่ในรัฐมหาราษฏระว่ารัฐบาลจะเพิ่มโควต้าการส่งออกน้ำตาล โดยอาจจะประกาศภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยทางเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำลังผลักดันให้เพิ่มโควต้าส่งออกน้ำตาล 2 ล้านตันเพื่อชิงความได้เปรียบจากราคาโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเพิ่มเติม
           จากโควตา 6 ล้านตันที่เคยได้ รับอนุมัติแล้ว โดยเจ้าหน้าที่กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงงานน้ำตาลส่วนใหญ่ในรัฐมหาราษฏระใช้โควต้าของตนเองหมดแล้ว




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,502.76 เซนต์ (18.18 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,521.25 เซนต์ (18.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.22
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 467.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.40 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 473.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.26
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.99 เซนต์ (44.27 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 63.27 เซนต์ (45.64 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.60


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,979 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,857 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,497 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,381 บาทคิดเป็นร้อยละ 8.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 992 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  99.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 101.67 คิดเป็นร้อยละ 1.85 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.43 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 101.97 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 93.41 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,300 บาท ลดลงจากตัวละ 3,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.23 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.65 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.03 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 348 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 345 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 358 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 396 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 394 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 416 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 398 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 374 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 434 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.89 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.65 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.16 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.49 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.88 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 มกราคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.26 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.15 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 168.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 166.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
163.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 167.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.75 บาท เนื่องจากปริมาณออก
สู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.52 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา